สถิติการเข้าชม

วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

สัปดาห์ที่ 19 สรุปการฝึกงาน

ประโยชน์ที่ได้รับ
  • ได้เรียนรู้ชีวิตการทำงาน ที่ค่อนข้างแตกต่างจากการเรียน
  • ได้ความอดทนต่อการทำงาน ต่อสภาพแวดล้อม ที่ไม่คุ้นเคย
  • ได้เรียนรู้การตั้งใจจริงในการทำงาน เพื่อให้งานเสร็จทันกำหนดเวลา
  • ได้เรียนรู้เรียนรู้การทำงานที่ต้องละเอียดรอบคอบ
  • ได้ความพยายามในการทำงาน เพราะต้องประเมินพนักงาน ด้วยระบบ Competency ตลอดการทำงาน
  • เข้าใจถึงการทำงานในหน่วยงาน ที่ต้องมีหลักการ เพื่อนำมาเขียนเอกสาร แล้วนำไปเป็นกฏเกณฑ์ภายในธนาคาร
  • ได้เรียนรู้การทำงานกับผู้ใหญ่ ที่ต้องประพฤติตัวให้เหมาะสม
  • ได้รู้ว่าการทำงานธนาคารไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด ต้องมีความรู้รอบด้าน เข้าใจถึงละเอียดของงาน เพื่อนำความรู้มาวิเคราะห์  ออกระเบียบคำสั่ง ใช้ภายในธนาคารต่อไป
  • ได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกัน ความสามัคคี การทำงานร่วมกัน การเอื้อเฟื้อต่อกัน

วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สัปดาห์ที่ 18 เริ่ม วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554

งานที่ได้ปฏิบัติ



- สร้างแบบประเมิน Competency ของธนาคารออมสิน จำนวน 11 ภาค โดยแยกเป็น หัวหน้าหน่วย และพนักงาน 2-7 ตั้งชื่อโปรไฟล์เป็น บริหารหนี้และคดี เขต ภาค ตำแหน่ง และกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนในแต่ละตำแหน่ง
- ช่วยพี่ในหน่วยงาน เสริฟกาแฟและน้ำ ให้ผู้ที่มาเข้าร่วมประชุมในหน่วยงาน


ปัญหาและอุปสรรค


- ระบบ Competency ของธนาคารออมสิน ค่อนข้างช้า เพราะมีข้อมูลที่ได้ทำการคีย์เข้าระบบเป็นจำนวนมาก


วิธีการแก้ปัญหา


- แจ้งให้พี่ที่มอบหมายทราบ เพื่อทำการแจ้งฝ่าย IT แก้ไขระบบ


ประโยชน์ที่ได้รับ


- ได้เรียนรู้ชีวิตการทำงาน ที่ค่อนข้างแตกต่างจากการเรียน
- ได้ความอดทนต่อการทำงาน ต่อสภาพแวดล้อม
- ได้ความพยายามในการทำงาน เพราะต้องประเมินพนักงาน ด้วยระบบ Competency ตลอดการทำงาน
- เข้าใจถึงการทำงานในหน่วยงาน ที่ต้องมีหลักการ เพื่อนำมาเขียนเอกสาร แล้วนำไปเป็นกฏเกณฑ์ภายในธนาคาร

สัปดาห์ที่ 17 เริ่ม วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2554 ถึง วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2554

งานที่ได้ปฏิบัติ


- สร้างแบบประเมิน Competency ของธนาคารออมสิน จำนวน 13 ภาค โดยแยกเป็น หัวหน้าหน่วย และพนักงาน 2-7 ตั้งชื่อโปรไฟล์เป็น ประเมินราคาฯ เขต ภาค ตำแหน่ง และกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนในแต่ละตำแหน่ง
- สร้างแบบประเมิน Competency ของธนาคารออมสิน จำนวน 11 ภาค โดยแยกเป็น หัวหน้าหน่วย และพนักงาน 2-7 ตั้งชื่อโปรไฟล์เป็น บริหารหนี้และคดี เขต ภาค ตำแหน่ง และกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนในแต่ละตำแหน่ง
- ช่วยพี่ ในหน่วยงานขนย้ายของในองค์กร
- ถ่ายเอกสาร 25 ชุด

ปัญหาและอุปสรรค


- ระบบ Competency ของธนาคารออมสิน ค่อนข้างช้า เพราะมีข้อมูลที่ได้ทำการคีย์เข้าระบบเป็นจำนวนมาก

 
วิธีการแก้ปัญหา


- แจ้งให้พี่ที่มอบหมายทราบ เพื่อทำการแจ้งฝ่าย IT แก้ไขระบบ


ประโยชน์ที่ได้รับ


- ได้ฝึกความอดทนในการจัดระเบียบในหน่วยงาน
- ได้ความพยายามในการทำงาน
- ได้เรียนรู้การตั้งใจจริงในการทำงาน เพื่อให้งานเสร็จทันกำหนดเวลา

วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สัปดาห์ที่ 16 เริ่ม วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 ถึง วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2554

งานที่ได้ปฏิบัติ


- สร้างแบบประเมิน Competency ของธนาคารออมสิน จำนวน 5 ภาค โดยแยกเป็น หัวหน้าหน่วย และพนักงาน 2-7 ตั้งชื่อโปรไฟล์เป็น ประเมินราคาฯ เขต ภาค ตำแหน่ง และกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนในแต่ละตำแหน่ง
- คีย์ข้อมูลแบบสอบถามพนักงาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งกับ KPI จำนวน 400 คน ลงใน Microsoft Office Excel
- เสริฟกาแฟให้ผู้ที่มาเข้าร่วมประชุมในหน่วยงาน

ปัญหาและอุปสรรค

- ลายมือของแบบสอบถามแต่ละคนไม่ชัดเจน และเอกสารมีค่อยข้างมาก

วิธีการแก้ปัญหา


- สอบถามพี่ที่มอบหมายงานให้เพื่อความชัดเจน


ประโยชน์ที่ได้รับ

- ได้ทำงานที่หลากหลายขึ้น
- ได้ช่วยพี่อีกกองทำงานให้เสร็จทันเวลาที่กำหนด
- ได้ฝึกความเรียบร้อยในการเข้าหาผู้ใหญ่

สัปดาห์ที่ 15 เริ่ม วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2554 ถึง วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554

งานที่ได้ปฏิบัติ

- ประเมินพนักงานธนาคารออมสิน (Competency) ประมาณ 20 สาขา
- สร้างแบบประเมิน Competency ของธนาคารออมสิน จำนวน 5 ภาค โดยแยกเป็น ผู้จัดการสาขา ผู้ช่วยผู้จัดการสาขา และพนักงานปฏิบัติการ ระดับ 2-7 ตั้งชื่อโปรไฟล์ของแต่ละตำแหน่งและกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนในแต่ละตำแหน่ง
- จัดเตรียมชา กาแฟ รับรองแขกให้หัวหน้าหน่วย
- เดินเอกสาร จำนวน 6 ชุด

ปัญหาและอุปสรรค

- กระดาษที่เครื่องถ่ายเอกสารหมด

วิธีการแก้ปัญหา

- ไปขอยืมกระดาษ ที่หน่วยงานอื่นก่อน เพราะที่หน่วยงานที่ทำอยู่กระดาษหมด กำลังดำเนินการขอเบิก


ประโยชน์ที่ได้รับ

- ได้เรียนรู้การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
- ได้ทำการประเมินพนักงาน ด้วยวิธีลัดทำให้รวดเร็วขึ้น

วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สัปดาห์ที่ 14 เริ่ม วันที่ 31 มกราคม 2554 ถึง วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2554

งานที่ได้ปฏิบัติ
- ประเมินพนักงาน ให้คะแนนตามแบบประเมินที่ได้ปริ้นไว้ และทางสาขาได้ส่งมาให้ที่หน่วยงาน โดยแบ่งเกณฑ์เป็น ผู้จัดการสาขา ผู้ช่วยผู้จัดการสาขา และพนักงานปฏิบัติการระดับ 2-7

- จัดเตรียมชา กาแฟ รับรองแขกให้หัวหน้าหน่วย

เดินเอกสาร จำนวน 3 ชุด

- ต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ และจัดโต๊ะนั่งทำงาน

- ถ่ายเอกสาร สรุปการประชุม ให้หัวหน้าส่วน จำนวน 3 ชุด

ปัญหาและอุปสรรค
- ไม่มีสายต่ออินทราเน็ต เพราะต้องทำแบบประเมินพนักงาน (Competency)

วิธีการแก้ปัญหา

-
ดูสายที่ยังว่างและไม่มีพี่ในหน่วยงานต้องการใช้ มาใช้ก่อน เพราะต้องรอเจ้าหน้าที่มาเดินสายใหม่

ประโยชน์ที่ได้รับ
- ได้ค้นหาและต่อสายอินทราเน็ต ด้วยตนเอง
- ได้แก้ปัญหาเฉพาะหน้า ด้วยตนเอง และไม่ไปรบกวนพี่ที่ดูแล
 

สัปดาห์ที่ 13 เริ่ม วันที่ 24 มกราคม 2554 ถึง วันที่ 28 มกราคม 2554

งานที่ได้ปฏิบัติ
- สร้างแบบประเมิน Competency ของธนาคารออมสิน จำนวน 2 ภาค โดยแยกเป็น ผู้จัดการสาขา ผู้ช่วยผู้จัดการสาขา และพนักงานปฏิบัติการ ระดับ 2-7 ตั้งชื่อโปรไฟล์ของแต่ละตำแหน่งและกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนในแต่ละตำแหน่ง

- ถ่ายเอกสาร  จำนวน 8 ชุด

- จัดเก็บ แบบประเมิน Competency ที่ปริ้นแล้ว เข้าแฟ้ม

- ช่วยพี่ แพ็กเสื้อเพื่อที่จะแจกให้กับ ผู้จัดการฝ่าย และผู้จัดการส่วน ของธนาคารออมสิน ที่จะใส่ไปงานพัทยา ที่ทางธนาคารได้จัดกิจกรรมขึ้น ในวันศุกร์ ที่ 28 มกราคม 2554

ปัญหาและอุปสรรค
- เสื้อสูทแขนยาวแต่ดูสั้น ไม่สมส่วน ไซส์กับขนาดไม่เท่ากัน พนักงานส่วนใหญ่ต้องการเปลี่ยนไซส์ แต่ปริมาณเสื้อที่แพ็กไม่พอ ที่จะให้ทุกคนเปลี่ยนได้ตามต้องการ

วิธีการแก้ปัญหา
- แจ้งให้พี่พนักงานไปเปลี่ยนไซส์เสื้อที่หน้างานพัทยา สถานที่จัดกิจกรรม

ประโยชน์ที่ได้รับ

- ได้แก้ปัญหาเฉพาะหน้า ในการให้เปลี่ยนไซส์เสื้อ
- ได้เรียนรู้ถึงวิธีการประเมินพนักงานด้วยระบบ Competency มากขึ้น

สัปดาห์ที่ 12 เริ่ม วันที่ 17 มกราคม 2554 ถึง วันที่ 21 มกราคม 2554

งานที่ได้ปฏิบัติ
- สร้างแบบประเมิน Competency ของธนาคารออมสิน จำนวน 2 ภาค โดยแยกเป็น ผู้จัดการสาขา ผู้ช่วยผู้จัดการสาขา และพนักงานปฏิบัติการ ระดับ 2-7 ตั้งชื่อโปรไฟล์ของแต่ละตำแหน่งและกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนในแต่ละตำแหน่ง

- ถ่ายเอกสาร  จำนวน 4 ชุด

-  เดินเอกสาร จำนวน 2 ชุด

- ช่วยพี่ในองค์กรขนย้ายโต๊ะทำงาน และเอกสารต่าง ๆ เพื่อย้ายที่นั่งทำงานไปอยู่ในห้องเดิม

- จัดเก็บ แบบประเมิน Competency ที่ปริ้นแล้ว เข้าแฟ้ม

ปัญหาและอุปสรรค
- แบบประเมิน Competency มีค่อนข้างมาก บางครั้งก็ปริ้นมาซ้ำกัน เพราะผู้ประเมินส่งมามากกว่า 1 ครั้ง

วิธีการแก้ปัญหา

-
ดูเอกสารที่ใหม่ที่สุด เป็นหลัก แต่ก็เก็บรวมกันไว้ เผื่อในอนาคตมีการเรียกดูหรือมีการตรวจสอบในภายหลัง

ประโยชน์ที่ได้รับ


- ได้จัดเก็บ แบบประเมิน Competency ไว้อย่างเป็นระเบียบ สะดวกรวดเร็วในการหา
- ได้เรียนรู้วิธีการถ่ายเอกสาร ในแบบต่างๆ เช่น ปรับความเข้ม ย่อ ขยาย การถ่ายหน้าหลัง

สัปดาห์ที่ 11 เริ่ม วันที่ 10 มกราคม 2554 ถึง วันที่ 14 มกราคม 2554

งานที่ได้ปฏิบัติ
- สร้างแบบประเมิน Competency ของธนาคารออมสิน จำนวน 3 ภาค โดยแยกเป็น ผู้จัดการสาขา ผู้ช่วยผู้จัดการสาขา และพนักงานปฏิบัติการ ระดับ 2-7 ตั้งชื่อโปรไฟล์ของแต่ละตำแหน่งและกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนในแต่ละตำแหน่ง

- ถ่ายเอกสารการประชุม จำนวน 30 ชุด

เดินเอกสาร จำนวน 4 ชุด

- จัดเตรียมชา กาแฟ ของว่าง สำหรับการประชุมในองค์กร จำนวน 15 ชุด

ปัญหาและอุปสรรค
- จัดเตรียมชา กาแฟ ของว่าง ได้ช้า เพราะไม่ชำนาญ
วิธีการแก้ปัญหา

-
มีพี่มาช่วยจัด 1 คน

ประโยชน์ที่ได้รับ

- ได้เรียนรู้กาชงกาแฟ การเสริฟ การเดินเข้าหาผู้ใหญ่ แบบเรียบร้อย
- ได้จัดเอกสารให้ผู้ที่มาประชุม ซึ่งเป็นระดับหัวหน้า อย่างเป็นระเบียบ อ่านง่าย หาง่าย

วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2554

สัปดาห์ที่ 10 เริ่ม วันที่ 4 มกราคม 2554 ถึง วันที่ 7 มกราคม 2554

งานที่ได้ปฏิบัติ
- ตรวจเช็คและติดหมายเลขอุปกรณ์ครุภัณฑ์ของหน่วยงานวางแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล 1 และติดหมายเลขครุภัณฑ์ไว้กับอุปกรณ์ที่มีหมายเลขตรงกัน ประกอบไปด้วย
                เก้าอี้สีน้ำเงิน                         จำนวน 18 ตัว
                 โต๊ะทำงานระดับ 2-7           จำนวน 5 ตัว
                ตู้เก็บเอกสาร                         จำนวน 5 ใบ
                โต๊ะวางคอมพิวเตอร์             จำนวน 4 ตัว
                ชั้นวางเอกสาร                       จำนวน 5 ใบ
                เก้าอี้นั่งทำงานของพนักงานระดับ 10 จำนวน 1 ตัว
                 เก้าอี้เบาะสีน้ำตาล              จำนวน 10 ตัว
-  ถ่ายเอกสาร 12 ชุด
-  เช็คการลาป่วยและการลากิจของพนักงานในหน่วยงานวางแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล 1 จำนวน 13 คน และทำงานบันทึกลงในระบบของธนาคารออมสิน
-  สร้างแบบประเมิน Competency จำนวน 20 สาขา
ปัญหาและอุปสรรค
-  อุปกรณ์ครุภัณฑ์มีจำนวนมากและปะปนกันอยู่ในห้องเก็บอุปกรณ์เนื่องจากมีหลายหน่วยงานมาฝากไว้ในห้องเก็บอุปกรณ์จึงทำให้การหา ครุภัณฑ์ของหน่วยงานยากและครุภัณฑ์บางตัวไม่มีหมายเลขติด
-  การสร้างแบบประเมินมีหลายขั้นตอน
วิธีการแก้ปัญหา
-  ช่วยกันหาครุภัณฑ์หลาย ๆ คน และถ้าบางตัวที่ไม่มีหมายเลขครุภัณฑ์ติดก็ต้องดูตามลักษณะที่ระบุในใบรายงานของธนาคารเอาว่าตรงกันไหมถ้าลักษณะเหมือนกันก็ติดหมายเลขครุภัณฑ์ได้
-  จดบันทึกขั้นตอนในการทำงานไว้ให้ชัดเจน
ประโยชน์ที่ได้รับ


- ได้รู้ถึงความอดทนในการหาครุภัณฑ์  
- สามารถนำความพยายาม ความอดทน ความรอบคอบ มาปรับใช้ในชีวิต

    สัปดาห์ที่ 9 เริ่ม วันที่ 27 ธันวาคม 2553ถึง วันที่ 30 ธันวาคม 2553

    งานที่ได้ปฏิบัติ
    - ปริ้นงานจากอีเมลของหัวหน้าและแก้ไขจดหมายในอีเมลให้ถูกต้องโดยหัวหน้าเป็นผู้ให้ข้อมูล จำนวน 15 หน้า
    - แก้ไขแบบประเมิน Competency ของธนาคารอมสิน จำนวน 2 หน่วย โดย เริ่มจากการลบแบบประเมินก่อน ต่อด้วยลบแบบกำหนดการประเมิน และแก้ไขแบบประเมินอีกครั้ง
    - ปริ้นรายงานการประชุม ใส่เลขหน้า จัดเรียงให้เหมาะสม
    - เดินเอกสาร จำนวน  2 ชุด
    - ถ่ายเอกสาร จำนวน 12 ชุด
    - ปริ้นงานในระบบ Intranet เรื่องโครงสร้างและข้อกำหนด ปี 2554 จำนวน 22 แผ่น
    - ตรวจสอบโครงสร้างใหม่ แก้ไขรายชื่อโครงสร้างเก่า และตรวจสอบตำแหน่งที่ว่าง
    ปัญหาและอุปสรรค
    - การทำงานมีหลายขั้นตอน ทำให้เกิดความสับสน ทำให้ทำงานผิดพลาด

    วิธีการแก้ปัญหา

    -
    เขียนขั้นตอนการทำงานในแต่ละขั้นตอนไว้ดู จดบันทึกโครงสร้างใหม่ ไว้ศึกษาทำความเข้าใจ เมื่อเกิดการสับสน ป้องกันการทำงานผิดพลาด

    ประโยชน์ที่ได้รับ
     

    - ได้เรียนรู้ถึงโครงสร้างใหม่ของธนาคารออมสิน  
    - ได้เรียนรู้วิธีการนำเสนองาน จัดเอกสารในการประชุม


      วันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2554

      สัปดาห์ที่ 8 เริ่ม วันที่ 20 ธันวาคม 2553ถึง วันที่ 24 ธันวาคม 2553

      งานที่ได้ปฏิบัติ
      - สร้างแบบประเมิน Competency ของธนาคารออมสิน จำนวน 2 ภาค โดยแยกเป็น ผู้จัดการสาขา ผู้ช่วยผู้จัดการสาขา และพนักงานปฏิบัติการ ระดับ 2-7 และการตั้งชื่อโปรไฟล์ของแต่ละตำแหน่งจะต้องตรงกับรหัสสังกัดด้วย
      - กำหนดแบบประเมิน Competency ของธนาคารออมสิน จำนวน 2 ภาค โดยแยกเป็น ผู้จัดการสาขา ผู้ช่วยผู้จัดการสาขา และพนักงานปฏิบัติการ ระดับ 2-7 และ แก้ไขระดับของพนักงานแต่ละตำแหน่งให้ตรงตาม Mapping ของธนาคาร
      - ปริ้นงานจากอีเมลของหัวหน้างาน จำนวน 50 หน้า
      - ช่วยพี่ในหน่วยงาน ขนย้ายของและเอกสารต่าง ๆ ไปไว้อีกห้องหนึ่งเนื่องจากในหน่วยงานมีการปรับปรุงห้องใหม่
      - ปริ้นข้อกำหนดการทำงานของพนักงานธนาคารออมสิน จาก Intranet จำนวน 45 หน้า
      - เข้าร่วมกิจกรรมการซ้อมหนีไฟของธนาคารออมสิน และร่วมเล่นเกมส์ตามซุ้มต่าง ๆ
      ปัญหาและอุปสรรค
      - การทำงานมีหลายขั้นตอน ทำให้เกิดความสับสน ทำให้ทำงานผิดพลาด

       วิธีการแก้ปัญหา

      -
      เขียนขั้นตอนการทำงานในแต่ละขั้นตอนไว้ดู เมื่อเกิดการสับสน ป้องกันการทำงานผิดพลาด
      ประโยชน์ที่ได้รับ  

      - ได้เรียนรู้ขั้นตอนการหนีไฟที่ถูกต้อง 
      -ได้ลำดับขั้นตอนการทำงานอย่างเป็นระบบ

        สัปดาห์ที่ 7 เริ่ม วันที่ 13 ธันวาคม 2553ถึง วันที่ 17 ธันวาคม 2553

        งานที่ได้ปฏิบัติ
        - ประเมินพนักงานที่ทำงานอยู่ในธนาคารออมสิน สาขาสำนักงานใหญ่ในระบบ Competency ของธนาคารออมสิน จำนวน 400 คน
        - ลบแบบประเมินพนักงาน ในงวดวันที่ 1 ตุลาคม 2553 - 15 ธันวาคม 2553 จำนวน 1 สายงาน 2 ฝ่าย 7 ส่วน 25 หน่วยงาน
        - แก้ไขวันที่ในการกำหนดงวดที่จะทำการประเมิน จากงวดวันที่ 1 ตุลาคม 2553 - 15 ธันวาคม 2553เปลี่ยนเป็น วันที่ 1 ตุลาคม 2553 - 14 ธันวาคม 2553 จำนวน 1 สายงาน 2ฝ่าย 7 ส่วน 25 หน่วยงาน
        - สร้างแบบประเมินพนักงาน Competency ของธนาคารออมสินภาค 4 และภาค 2 จำนวน 65 สาขา โดยแยกเป็น ผู้จัดการสาขา ผู้ช่วยผู้จัดการสาขา และพนักงานปฏิบัติการ ระดับ 2-7
        - สร้างแบบประเมินCompetency ที่จะประเมินพนักงานที่อยู่ในธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่เพิ่มเติม เนื่องจากใบประเมินบางส่วนเพิ่งได้รับจึงต้องทำการสร้างก่อนถึงจะประเมินพนักงานได้
        - ถ่ายเอกสาร 30 ชุด
        - เดินเอกสาร 18 ชุด
        ปัญหาและอุปสรรค
        - การทำงานมีหลายขั้นตอน ทำให้เกิดความสับสน ทำให้ทำงานผิดพลาด
        วิธีการแก้ปัญหา

        - เขียนขั้นตอนการทำงานในแต่ละขั้นตอนไว้ดู เมื่อเกิดการสับสน ป้องกันการทำงานผิดพลาด
        ประโยชน์ที่ได้รับ
          
        - ได้ลำดับการทำงาน อย่างเป็นขั้นตอน ป้องกันการสับสนในการทำงาน

          สัปดาห์ที่ 6 เริ่ม วันที่ 7 ธันวาคม 2553ถึง วันที่ 9 ธันวาคม 2553

          งานที่ได้ปฏิบัติ
          - ตรวจสอบเอกสารประกอบการขอเข้าโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด 18 ภาค จำนวน ประมาณ 500 คน
          - แยกประเภทเอกสารการใช้หลักฐานการค้ำประกัน แบ่งเป็น บุคคลค้ำประกัน พันธบัตรรัฐบาล สลากออมสินพิเศษ และ- เงินฝากในสมุดบัญชี โดยดูจากเอกสาร
          - คัดแยกเอาสมุดบัญชีจากผู้ที่ใช้การค้ำประกัน แบบใช้บุคคลค้ำประกัน พันธบัตรรัฐบาล สลากออมสินพิเศษ ออกเพื่อส่งคืน
          - คัดแยก เอกสารที่ใช้บุคคลค้ำประกัน พันธบัตรรัฐบาล สลากออมสินพิเศษ และเงินฝากในสมุดบัญชี จัดเก็บตามภาค
          - คีย์ข้อมูลการแก้ไขรายชื่อผู้รับมรดกของพนักงานเก่า จำนวน ประมาณ 200 คน
          ปัญหาและอุปสรรค
          - พนักงานที่ขอเข้าร่วมโครงการเกษียณอายุ ส่งเอกสารไม่ครบ
          - เอกสารมีจำนวนมาก ทำให้เกิดความสับสน
          - รายชื่อผู้รับมรดกของพนักงาน ไม่ค่อยชัดเจน เนื่องจากเป็นการบันทึกด้วยลายมือ

          วิธีการแก้ปัญหา

          -
          แจ้งให้พี่มอบหมายงานทราบ เพื่อให้พี่ที่มอบหมายงานแจ้งให้พนักงานดังกล่าวแก้ไข
          - พยายามลำดับขั้นตอนการทำงาน ค่อยๆทำให้เสร็จ
          - สอบถามรายชื่อจากพี่ที่มอบหมายงานให้ชัดเจน
          ประโยชน์ที่ได้รับ 

          - ได้ทำงานที่ค่อนข้างต้องใช้ความอดทน ใช้ความพยายาม และความละเอียดรอบคอบ เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมาก ขั้นตอนการทำงานหลายขั้นตอน เอกสารเป็นเอกสารเกี่ยวกับการเงิน มีผลต่อพนักงาน

          สัปดาห์ที่ 5 เริ่ม วันที่ 29 พฤศจิกายน 2553ถึง วันที่ 1 ธันวาคม 2553

          งานที่ได้ปฏิบัติ
          - ตรวจสอบเอกสารประกอบการขอเข้าโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด 18 ภาค จำนวน ประมาณ 500 คน
          - แยกประเภทเอกสารการใช้หลักฐานการค้ำประกัน แบ่งเป็น บุคคลค้ำประกัน พันธบัตรรัฐบาล สลากออมสินพิเศษ และเงินฝากในสมุดบัญชี โดยดูจากเอกสาร
          - คัดแยกเอาสมุดบัญชีจากผู้ที่ใช้การค้ำประกัน แบบใช้บุคคลค้ำประกัน พันธบัตรรัฐบาล สลากออมสินพิเศษ ออกเพื่อส่งคืน
          - คัดแยก เอกสารที่ใช้บุคคลค้ำประกัน พันธบัตรรัฐบาล สลากออมสินพิเศษ และเงินฝากในสมุดบัญชี จัดเก็บตามภาค
          - ตัดป้ายหางปลา ติดเอกสารการประชุม
          - ทำรายชื่อพนักงานที่ขอเข้าโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด 18 ภาค แยกตามภาค เรียงตามสาขา แล้วทำการบันทึกที่หมายเหตุว่าพนักงานที่เข้าร่วมโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด ใช้การค้ำประกันแบบใด
          ปัญหาและอุปสรรค
          - พนักงานที่ขอเข้าร่วมโครงการเกษียณอายุ ส่งเอกสารไม่ครบ
          - เอกสารมีจำนวนมาก ทำให้เกิดความสับสน

          วิธีการแก้ปัญหา

          -
          แจ้งให้พี่มอบหมายงานทราบ เพื่อให้พี่ที่มอบหมายงานแจ้งให้พนักงานดังกล่าวแก้ไข
          - พยายามลำดับขั้นตอนการทำงาน ค่อยๆทำให้เสร็จ
          ประโยชน์ที่ได้รับ
          - ได้ทำงานที่ค่อนข้างต้องใช้ความอดทน ใช้ความพยายาม และความละเอียดรอบคอบ เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมาก ขั้นตอนการทำงานหลายขั้นตอน เอกสารเป็นเอกสารเกี่ยวกับการเงิน มีผลต่อพนักงาน

            วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

            สัปดาห์ที่ 4 เริ่ม วันที่ 22 พฤศจิกายน 2553 ถึง วันที่ 26 พฤศจิกายน 2553

            งานที่ได้ปฏิบัติ

            - ค้นหารายชื่อของพนักงานที่มีชื่อซ้ำกันโดยค้นหาจากรหัสพนักงาน จำนวน 3834 รายชื่อ
            - เดินเอกสาร จำนวน 3 ชุด
            -สร้างแบบประเมิน Competency ของพนักงาน โดยระบุตามส่วน หน่วย ฝ่าย เรียงตามรหัสสังกัดและตำแหน่งของพนักงาน ทำแบบประเมินในระบบIntranet ของธนาคารออมสิน
            - กำหนดแบบประเมิน Competency ของพนักงาน โดยตั้งชื่อโปรไฟล์ให้ตรงกับแบบฟอร์ม จำนวน 4 ตำแหน่งใหญ่ ๆ
            - กำหนดช่วงเวลาทั้งหมดเพื่อที่จะสามารถเข้าไปทำการประเมินในระยะเวลาที่กำหนด
            - แก้ไขเกณฑ์การให้คะแนน Competency ของพนักงาน โดยแบ่งตามตำแหน่ง หัวหน้าฝ่าย หัวหน้าส่วน หัวหน้าหน่วย และผู้ปฏิบัติการ แก้ไขในระบบIntranet ของธนาคารออมสิน จำนวน 4 ตำแหน่งใหญ่ ๆ
            - ประเมินพนักงาน ในระบบของธนาคารออมสิน จำนวน 50 คน

            ปัญหาและอุปสรรค

            - รายชื่อพนักงานมีจำนวนมากค้นหาได้ยาก
            - ในหน่วยงานของธนาคารมีหน่วยงานที่แยกเป็นส่วน เป็นฝ่าย และเป็นหน่วยหน่วยจำนวนมากทำให้เกิดการสับสน
            - เกณฑ์การให้คะแนนของแต่ละหน่วยงานไม่เหมือนกันและมีจำนวนมากเกิดการสับสนมาก
            - การใช้งานในระบบIntranetของธนาคารออมสินช้ามากเพราะมีข้อมูลจำนวนมากทำให้งานเสร็จช้าลง

            วิธีการแก้ปัญหา

            - ค้นหาใน Microsoft office Excel โดยการใช้สูตรเลยทำให้งานเสร็จเร็วขึ้น
            - ค่อย ๆ ศึกษาหน่วยงานแต่ละหน่วยงานของธนาคารและจดตามความเข้าใจเพราะบางครั้งลืมก็กลับมาดูได้
            - ค่อย ๆ ปรับความเข้าใจของเกณฑ์การให้คะแนนของแต่ละตำแหน่งพอเข้าใจและจำได้ก็ไม่ต้องเสียเวลากลับมาดูเอกสารบ่อย ๆ
            - ระบบ Intranet ช้าแต่ก็ต้องรอเพราะจะช้าแต่ก็ต้องทำให้เสร็จ 

            ประโยชน์ที่ได้รับ

            - ได้ค้นพบสูตรที่สามารถใช้ค้นหางานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

            สัปดาห์ที่ 3 เริ่ม วันที่ 15 พฤศจิกายน 2553 ถึง วันที่ 19 พฤศจิกายน 2553

            งานที่ปฏิบัติ
            - คีย์ข้อมูลแบบประเมิน Competency ของพนักงาน คีย์ข้อมูลผ่านระบบของธนาคารออมสิน จำนวน 5 ชุด
            - แก้ไข Code ให้ตรงกับความหมายของ Function Competency จำนวน 80 Code
            - เดินเอกสาร จำนวน 5 ชุด

            ปัญหาและอุปสรรค

            - ทำงานได้สักพักระบบมีปัญหา
            - ค้นหาข้อมูลที่ทำการบันทึกแล้วไม่เจอในระบบ
            - หาห้องที่จะส่งเอกสารไม่เจอ

            วิธีแก้ปัญหา
            - บอกพี่ที่มอบหมายงานเพื่อแจ้งเจ้าหน้าที่ที่ดูแลระบบ
            - บอกพี่ที่มอบหมายงานเพื่อหาทางแก้ไข
            - สอบถาม รปภ.

            ประโยชน์ที่ได้รับ

            - ได้เรียนรู้การประเมินพนักงานธนาคารออมสิน ด้วยระบบ Competency ตามแบบที่กำหนดไว้

            วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

            สัปดาห์ที่ 2 เริ่ม วันที่ 8 พฤศจิกายน 2553 ถึง วันที่ 12 พฤศจิกายน 2553

            งานที่ปฏิบัติ
            - บันทึกเลขที่หนังสือที่นำออกจากหน่วยงานเพื่อไปส่งให้กับหน่วยงานอื่น ๆ จำนวน 16 ฉบับ
            - ถ่ายเอกสาร จำนวน 25 ชุด
            - ส่งเอกสาร จำนวน 15 ชุด
            - รับโทรศัพท์ในหน่วยงาน
            - คัดแยกใบสมัครโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดของพนักงานธนาคารออมสิน
            - เรียนรู้โครงสร้างใหม่ขององค์กร(ธนาคารออมสิน)
            - พิมพ์ข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างใหม่ เกี่ยวกับสาขาทั้งหมดของธนาคาร ดูแลโดยภาค 18 ภาค
            พิมพ์แยกให้ชัดเจนโดยใช้ Microsoft Office Excel 2007


            ปัญหาและอุปสรรค

            - เอกสารมีจำนวนมากบางที่ทำให้สับสน
            - จำอักษรย่อของแต่ละหน่วยงานไม่ค่อยได้เพราะอักษรย่อของแต่ละหน่วยงานไม่ค่อยได้
            วิธีการแก้ปัญหา


            - พยายามใช้สมาธิ ในการทำงาน
            - หาเทคนิคในการจำเอาเอง โดยแต่ละหน่วยงานเทคนิคจะต่างกัน


            ประโยชน์ที่ได้รับ

            - ได้เรียนรู้การทำงานธุรการในองค์กร ตั้งแต่การลงบันทึกเข้า-ออก ของเอกสาร
            - ได้เรียนรู้วิธีการรับโทรศัพท์ การตอบคำถาม
            - ได้รู้ถึงที่ตั้งของแต่ละฝ่ายภายในธนาคารออมสิน สาขาสำนักงานใหญ่

            วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

            สัปดาห์ที่ 1 เริ่ม วันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 ถึง วันที่ 5 พฤศจิกายน 2553

            งานที่ได้ปฏิบัติ


            แบบประเมินผลการทดลองปฏิบัติงานสำหรับพนักงานปฏิบัติการระดับ 4-7 - แยกประเภทตามภาคจำนวน 200 ชุด
            - ตรวจสอบลงในแบบบันทึกรายชื่อพนักงานทดลองงานที่ยังไม่ได้รับการบรรจุข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2553 งวดที่1 จำนวน 200 ชุด
            - จัดเรียง ตามรหัสพนักงานเพื่อใส่ลงในแฟ้มเอกสารตามคำสั่งธนาคารออมสินที่ บค.5 จำนวน 200 ชุด

            - ไปรับเอกสารที่ตึก 1 ชั้น 2 และชั้น 3 จำนวน 2 ชุด
            โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด (Early Retirement) ประจำปี 2553
            - คัดแยกเอกสารใบสมัคร จำนวน 126 ชุด
            - คัดแยกใบเจตนาขอรับสิทธิ์ได้รับจากธนาคารและเงินสวัสดิสงเคราะห์กรณีพ้นหน้าที่ จำนวน 126 ชุด - คัดแยกใบแจ้งความเรื่องบัตรพนักงานหาย
            - จัดเรียงใบสมัคร ตามเลขลำดับจากน้อยไปหามาก
            - จัดเรียงใบเจตนาขอรับสิทธิ์ได้รับจากธนาคารและเงินสวัสดิสงเคราะห์กรณีพ้นหน้าที่ตามรหัสพนักงานจากน้อยไปหามาก
            - ตรวจสอบรายชื่อผู้สมัคร ลงในใบรายชื่อผู้ผ่านการพิจารณาคัดเลือกเข้าร่วมโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด (Early Retirement) ประจำปี 2553
            - จัดเรียงใบสมัครตามลำดับลงในแฟ้ม จำนวน 9 แฟ้ม
            - จัดเรียงใบแสดงเจตนาขอรับเงินที่มีสิทธิ์ที่ได้รับจากธนาคารและเงินสวัสดิสงเคราะห์กรณีพ้นหน้าที่จำนวน 9 แฟ้ม จำนวน 9 แฟ้ม
            - เรียงลำดับใบสมัครโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด (Early Retirement) ประจำปี 2553
            - แยกรหัสแบบแสดงเจตนาขอรับเงินที่มีสิทธิ์ที่ได้รับจากธนาคารและเงินสวัสดิสงเคราะห์กรณีพ้นหน้าที่
            - ติดตั้งคอมพิวเตอร์ PC และอุปกรณ์จำนวน 1 เครื่อง

            ปัญหาและอุปสรรค


            - แบบประเมินผลการทดลองปฏิบัติงานสำหรับพนักงานปฏิบัติการระดับ 4-7 รายชื่อไม่มีในแบบบันทึกรายชื่อพนักงานทดลองงานที่ยังไม่ได้รับการบรรจุ จำนวน 2 ชุด
            - รายชื่อพนักงานทดลองงานที่ยังไม่ได้รับการบรรจุมีจำนวนค่อนข้างมากทำให้ยากต่อการค้นหา
            - เอกสารใบสมัครโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด (Early Retirement) ประจำปี 2553 และใบแสดงเจตนาขอรับเงินที่มีสิทธิ์ที่ได้รับจากธนาคารและเงินสวัสดิสงเคราะห์กรณีพ้นหน้าที่มีจำนวนมากทำให้ยากต่อการค้นหาและจัดเรียงทำให้สับสน

            วิธีแก้ไขปัญหา


            - สอบถามผู้ที่มอบหมายงาน
            - ตรวจสอบจากรหัสพนักงานในแบบประเมินแล้วตรวจสอบ
            - ทำความเข้าใจกับเอกสาร และสอบถามผู้ที่มอบหมายงานเมื่อไม่เข้าใจ


            ประโยชน์ที่ได้รับ
            - ได้เรียนรู้ถึงระบบการทำงานของธนาคาร
            - ได้เรียนรู้ถึงกระบวนการ โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด ที่ไม่เคยรู้มาก่อน




            วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2552

            DTS 11-16/09/52

            ได้ทราบว่า การเรียงลำดับแบบเร็ว (quick sort)เป็นวิธีการเรียงลำดับที่
            ใช้เวลาน้อยเหมาะสำหรับข้อมูลที่มีจำนวนมากที่ต้องการความรวดเร็วใน
            การทำงาน วิธีนี้จะเลือกข้อมูลจากกลุ่มข้อมูลขึ้นมาหนึ่งค่าเป็นค่าหลัก
            ถ้าเป็นการเรียงลำดับจากน้อยไปมากการเปรียบเทียบเพื่อหาตำแหน่งให้
            กับค่าหลัก(ControlKey)ตัวแรกเริ่มจากข้อมูลในตำแหน่งแรกหรือ
            สุดท้ายก็ได้ถ้าเริ่มจากข้อมูลที่ตำแหน่งที่ 1 เป็นค่าหลัก พิจารณาเปรียบเทียบ
            ค่าหลักกับข้อมูลในตำแหน่งสุดท้ายถ้าค่าหลักมีค่าน้อยกว่าให้เปรียบเทียบ
            กับข้อมูลในตำแหน่งรองสุดท้ายไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะพบค่าที่น้อยกว่าค่าหลัก
            แล้วให้สลับตำแหน่งกันหลังจากสลับตำแหน่งแล้วนำค่าหลักมาเปรียบเทียบ
            กับข้อมูล ในตำแหน่งที่ 2, 3,ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะพบค่าที่มากกว่าค่าหลัก
            สลับตำแหน่งเมื่อเจอข้อมูลที่มากกว่าค่าหลัก ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่ง
            ได้ตำแหน่งที่ถูกต้องของค่าหลักนั้น ก็จะแบ่งกลุ่มข้อมูลออกเป็นสองส่วน

            การจัดเรียงลำดับแบบเร็วเป็นวิธีที่ค่อนข้างซับซ้อน แต่ประสิทธิภาพการ
            ทำงานค่อนสูง เนื่องจากใช้เวลาในการเรียงลำดับน้อย ถ้ามีข้อมูลทั้งหมด n
            ตัวจำนวนครั้งของการเปรียบเทียบเป็นดังนี้

            กรณีที่ดีที่สุด คือ กรณีที่ค่าหลักที่เลือกแบ่งแล้วข้อมูลอยู่ตรงกลางกลุ่มพอดี
            และในแต่ละส่วนย่อยก็เช่นเดียวกันจำนวนครั้งของการเปรียบเทียบเป็นดังนี้
            จำนวนครั้งของการเปรียบเทียบ = n log2 n ครั้ง
            กรณีที่แย่ที่สุด คือ กรณีที่ข้อมูลมีการเรียงลำดับอยู่แล้ว อาจจะเรียงจากน้อย
            ไปมากหรือจากมากไปน้อย หรือค่าหลักที่เลือกในแต่ละครั้งเป็นค่าหลักที่
            น้อยที่สุดหรือมากที่สุด จำนวนครั้งของการเปรียบเทียบจะมากที่สุดดังนี้
            จำนวนครั้งของการเปรียบเทียบ
            = (n −1) + (n −2) + . . . + 3 + 2 + 1
            = n (n −1) / 2 ครั้ง

            การค้นหาข้อมูล (Searching)
            การค้นหา คือการใช้วิธีการค้นหากับโครงสร้างข้อมูล เพื่อดูว่าข้อมูลตัว
            ที่ต้องการถูกเก็บอยู่ในโครงสร้างแล้วหรือยัง

            วัตถุประสงค์ของการค้นหาโดยทั่วไป ได้แก่
            เพื่อดูรายละเอียดเฉพาะข้อมูลส่วนที่ต้องการดึงข้อมูลตัวที่ค้นหาออกจาก
            โครงสร้างเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายละเอียดบางอย่างของข้อมูลตัวที่ค้นพบ
            และ/หรือเพิ่มข้อมูลตัวที่ค้นหาแล้วพบว่ายังไม่เคยเก็บไว้ในโครงสร้างเลยเข้า
            ไปเก็บไว้ในโครงสร้าง เพื่อใช้งานต่อไป

            การค้นหาแบ่งเป็น 2 ประเภท ตามแหล่งที่จัดเก็บข้อมูลเช่นเดียวกับการเรียงลำดับ
            การค้นหาข้อมูลแบบภายใน (Internal Searching)
            การค้นหาข้อมูลแบบภายนอก (External Searching)

            1. การค้นหาแบบเชิงเส้นหรือการค้นหาตามลำดับ(Linear)
            เป็นวิธีที่ใช้กับข้อมูลที่ยังไม่ได้เรียงลำดับ
            หลักการ คือ ให้นำข้อมูลที่จะหามาเปรียบเทียบกับข้อมูลตัว
            แรกในแถวลำดับถ้าไม่เท่ากันให้เปรียบเทียบกับข้อมูลตัวถัดไปถ้าเท่ากัน
            ให้หยุดการค้นหา
            2. การค้นหาแบบเซนทินัล (Sentinel)เป็นวิธีที่การค้นหาแบบเดียวกับ
            วิธีการค้นหาแบบเชิงเส้นแต่ประสิทธิภาพดีกว่าตรงที่เปรียบเทียบน้อยครั้งกว่า
            พัฒนามาจากอัลกอริทึมแบบเชิงเส้น
            หลักการ
            1) เพิ่มขนาดของแถวลำดับ ที่ใช้เก็บข้อมูลอีก 1 ที่
            2) นำข้อมูลที่จะใช้ค้นหาข้อมูลใน Array ไปฝากที่ต้นหรือ ท้ายArray
            3) ตรวจสอบผลลัพธ์จากการหาโดยตรวจสอบจากตำแหน่งที่พบ ถ้าตำแหน่ง
            ที่พบมีค่าเท่ากับ n-1แสดงว่าหาไม่พบ
            3. การค้นหาแบบไบนารี (Binary Search)ใช้กับข้อมูลที่ ถูกจัดเรียงแล้ว
            เท่านั้นหลักการของการค้นหาคือ ข้อมูลถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนแล้วนำ
            ค่ากลาง ข้อมูลมาเปรียบเทียบกับคีย์ที่ต้องการหา
            1) หาตัวแทนข้อมูลเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับค่าที่ต้องการค้นตำแหน่งตัวแทน
            ข้อมูลหาได้จากสูตร
            mid = (low+high)/2
            mid คือ ตำแหน่งกลาง ,
            low คือ ตำแหน่งต้นแถวลำดับ
            high คือ ตำแหน่งท้ายของแถวลำดับ
            2) นำผลการเปรียบเทียบกรณีที่หาไม่พบมาใช้ในการค้นหารอบต่อไป
            ถ้าข้อมูลมีการเรียงจากน้อยไปหามาก เมื่อเปรียบเทียบแล้วคีย์มีค่ามากกว่า
            ค่ากลาง แสดงว่าต้องทำการค้นหาข้อมูลในครึ่งหลังต่อไป จากนั้นนำข้อมูล
            ครึ่งหลังมาหา ค่ากลางต่อ ทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้ข้อมูลที่ต้องการ